ข้อมูล อบต.

สถานที่ท่องเที่ยวในตำบลแม่ดง

น้ำตกบาเละ

      

      

 

บึงจือแร
 
       
 
         
 
         
 
                
 
 
                                                               
 
 
ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น

ศาสนาพุทธ


1) วันว่างหรือวันขึ้นปีใหม่(วันสงกรานต์) : วันว่างหรือวันขึ้นปีใหม่นี้มีทุกภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง อีสาน และภาคใต้ ทุกภาคปฎิบัติอย่างเคร่งครัด ยึดมั่นประเพณีเดิมคือประเพณีสงกรานต์
วันว่างหรือวันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ไทยรับมาจากพราหมณ์อีกต่อหนึ่งแต่เนื่องจากว่า ไทยนับถือพุทธศาสนาจึงนำมาปรับปรุงในทางดีงาม เช่นการนับถือบรรพบุรุษจึงเอากระดูกของบรรพบุรุษไปทำบุญทำทานในวัด วันอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายและเปรตชน วันว่างเป็นหลักการของสังคมและการปกครอง

2) ประเพณีลากพระ(ชักพระ) : กระทำกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว 1 วัน ยานพาหนะสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปนั้นตกแต่งเป็นรูปเรือ เรียกว่า “เรือพระ” มีบุษบกวางไว้ภายวนบุษบกนั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เช่น ปางประทานพร ฯลฯ มีเชือกเส้นใหญ่และยาว 2 เส้น ผูกที่หัวเรือพระเพื่อให้ประชาชนที่มาร่วมการกุศลลากเรือพระไปตามเส้นทางที่กำหนด มีกลองใหญ่ 2 ใบใช้ตีประโคมวางอยู่บนเรือและตีไปตลอดทางให้เรือไปถึงที่หมายก่อนเวลาเพล มีภิกษุและสามเณรที่ทำเรือพระขึ้นนั้น ร่วมในเรือพระบ้างหรือเดินตามเรือพระไปบ้าง เมื่อถึงที่หมายอุโบสกอุบาสิกาและภิกษุสามเณร ทำพิธีสมโภชพระพุทธรูปที่พากันแห่มาแล้สถวายภัตตาหารเพล เสร็จแล้วพระสงฆ์อนุโมทนาทานเมื่อได้เวลาก็ลากเรือพระกลับวัด
 
3) การทำบุญวันสารทเดือนสิบ : ทำบุญวันสารที่ทำกันในเดือนสิบมีการทำบุญ 2 วัน คือวันแรม 1 คำเดือน 10 และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 พอใกล้วันที่กำหนดประชาชนก็เตรียมของเพื่อนำไปทำบุญ มีต้ม ขนนม ทอดมัน ขนมเจาะหู ขนมลูกสะบ้า ขนมลา และมีอาหารคาวหวานอย่างอื่นก็จัดถวายเป็นอาหารเพล
 
 
 
ศาสนาอิสลาม
 
1) พิธีถือศีลอด : มุสลิมทุกคนเมื่อบรรลุศาสนภาวะหรือเป็นหนุ่มเป็นสาวเป็นสาวแล้ว จำเป็นต้องถือศีลอดเว้นแต่บุคคลดังต่อไปนี้
- เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ
- คนที่ขาดสติสัมปชัญญะ
- คนชรา
- คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หายหรือคนป่วยโรคทั่วไป กล่าวคือร่างกายอยู่ในสภาพไม่ปกติ หากถือศีลอดแล้วจะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ถ้าเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ฮ่องกงฟุต ไซนัส หรือสุขภาพไม่ดีเพราะหูไม่ได้ยิน ตามัว ฯลฯ
- หญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมแก่ทารกหรือแม่นม เพราะหญิงเหล่านี้อยู่ในภาวะที่ต้องการอาหารมาก
- หญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอดบุตร
- บุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทาง ซึ่งเป็นการลำบากที่จะถือศีลอด การเดินทางในสมัยก่อนลำบากมาก เพราะการคมนาคมไม่สะดวกรวดเร็วเช่นในปัจจุบัน
- บุคคลที่ทำงานหนัก เช่นกรรมกรแบกหาม กรรมกรในเหมืองแร่ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ และศรัทธาของแต่ละคนว่าจะสามารถถือศีลอดได้หรือไม่ โดยไม่หลอกทั้งตัวเองและพระเจ้า
การถือศีลอด มุสลิมทุกคนต้องถือศีลอดคนละ 1 เดือน คือ ในเดือนที่ 9 ของฮิจเราะฮ.ศักราชซึ่งเรียกว่าเดือนรอมฎอน (ปีปฎิทินอิสลามนับจากจันทรคติ)
หลักการปฎิบัติทั่วไปของการถือศีลอด คืองดเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส การรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการทำชั่ว ทั้งทั้งทางด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งหมดแสงอาทิตย์
 
2) วันรายอ(อีดิ้ลฟิตร.) : หมายถึง วันที่เวียนมาสู่สภาพเดิม กล่าวคือ เป็นวันที่กลับมาสู่การเว้นจากการถือศีลอด ทั้งนี้เพราะวันอีดิ้ลฟิตร.นี้ถือเป็นวันแห่งการรื่นเริง อนึ่งในการถือศีลอด ชาวไทยมุสลิมนิยมใช้คำว่า “ถือบวช” ดังนั้นในวันอีดิลฟิตร. จึงนิยมเรียกว่า “วันออกบวช” หรือวัน “อีดเล็ก”
 
3) วันเมาลิด : ถือเป็นวันคล้ายวันระลึกถึงวันเกิดของนบีมูฮัมหมัด(ซ.บ.) ศาสดาแห่งศาสนา อิสลาม ประชาชนนิยมประกอบศาสนกิจ ทำบุญให้ทานตลอดเดือน(วันหนึ่งวันใดก็ได้ในเดือนรอบิอุลอาวัล ซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ทางจันทรคติ)
 
6) การกวนขนมอาซูรอ : เป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า "อาซูรอ" เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ชาวบ้าน นิยมกวนขนมอาซูรอกันในเดือนนี้ จึงเรียกกันว่า ขนมอาซูรอ
ขนมอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ผู้คนรู้กันทั่วว่าจะกวนขนมอาซูรอ ที่ไหน เมื่อใด พอถึงวันกำหนดนัด ชาวบ้านก็จะช่วยกันนำอาหารดิบ อันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มารวมกัน ผู้คนจะมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าภาพผู้เชิญชวน เมื่อได้ของมามาก พอแล้วก็จะช่วยกันกวน เครื่องปรุงที่สำคัญประกอบด้วย
1. เครื่องแกง มี ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผังชี ยี่หร่า
2. ข้าวสาร
3. เกลือ น้ำตาล กะทิ
4. อื่น ๆ เช่น มัน กล้วย (หรือผลไม้อื่น ๆ) เนื้อ ไข่ ส่วนประกอบที่
4. นี้จะให้อะไรก็ได้ ขอให้เป็น สิ่งที่รับประทานได้เท่านั้น
วิธีกวน ตำหรือบดเครื่องแกงอย่างหยาบ ๆ เทส่วนผสมต่าง ๆ ลงในกะทะ ใบใหญ่ ปรุงรส ตามใจชอบ เมื่อขนมสุกเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ก็ตักใส่ถาด แล้วโรยหน้าด้วยไข่เจียวบางๆ หรืออาจจะ เป็นหน้ากุ้ง เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่น แล้วแต่รสนิยมของท้องถิ่น ขอขนมเย็นแล้วก็ตัดเป็น ชิ้น ๆ คล้ายขนมเปียกปูน พร้อมที่จะแจกจ่ายรับประทานกันได้ แต่ก่อนจะรับประทานกัน เจ้าภาพ จะเชิญบุคคลที่เป็นที่นับถือของชุมชนนั้น ขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) จากพระผู้เป็นเจ้า เสร็จพิธีแล้ว จึงแจกจ่ายรับประทานกัน
ความเป็นมาของการกวนขนมอาซูรอนั้น สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮ (อล.) สมัยนั้นเกิดภาวะ น้ำท่วมใหญ่ ยังความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินไร่นาขงประชาชนทั่วไป บรรดาสาวกของนบีนุฮ (อล.) และคนทั่วไปขาดอาหาร นบีนุฮ จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ เอามากอง รวมกันเนื่องจากต่างคนต่างมีกันคนละอย่างไม่เหมือนกัน นบีนุฮให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้า ด้วยกัน ในที่สุดสาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัยบีมูหัมมัด (ศ็อลฯ) เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก กล่าวคือ ขณะที่กองทหารของท่าน กลับจาก การรบที่ "บาดัร" ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านนบีมูหัมมัด (ศ็อลฯ) จึงใช้วิธีการของ นบีนุฮ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้ มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานใน หมู่ทหารทั้งปวง

4) วันรายาฮัจญี(อีดิ้ลอัฏฮา) : วันประกอบพิธีฮัจญี ณ นคร มักกะฮ์ ประชาชนทั่วไปนิยมทำพิธีละหมาดสุนัต หลังจากพิธีละหมาดจะมีการทำกุรบั่น 3 วัน กล่าวคือ การคือ การเชือดสัตว์เพื่อบริจาคแจกจ่ายแก่ผู้ยากจน สัตว์ที่เชือดได้แก่ แพะ แกะ อูฐ และวัว ซึ่งเรียกว่า “อุฎฮิยฮ.” แต่คนทั่วไปมักเรียกสัตว์ที่เชือดเป็นพลีนี้ว่า “กุรบั่น” ซึ่งคำนี้มีความหมายว่า ทำให้เข้าใกล้ชิด

 

5) การเข้าสุหนัต :
เรียกในภาษาอาหรับว่า “คอตั่น” และเรียกในภาษยาวีว่า “มาโซ๊ะยาวี” การเข้าสุนัตคือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย โดยชายมุสลิมทุกคนจะต้องปฎิบัติ ดังนั้นผู้ปกครองจึงมักทำการสุหนัตให้แก่ลูกหลานตั้งแต่เด็ก ๆ สำหรับชายที่เข้ามารับศานาอิสลามก็ต้องปฎิบัติเช่นกัน

7) มาแกปูโละ : เป็นภาษามลายูท้องถิ่นของ 3 จังหวัดภาคใต้ ตรงกับภาษาไทยว่า "กินเหนียว" มาแกปูโละเป็นประเพณี "กินเลี้ยง" ของท้องถิ่น นิยมทำกันทั้งชาวพุทธและชาวมุสลิมภาคใต้ ในกลุ่มของชาวมุสลิมนั้น "มาแกปูโละ" หมายถึงงานกินเลี้ยงใน งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัด หรือเพื่อหาเงินกิจกรรมอะไรสักอย่างก็ได้ แต่สำหรับชาวไทยพุทธหมายถึงงานเลี้ยงแต่งงานอย่างเดียว ความจริงเมื่อไปในงานนี้แล้ว ไม่ได้ไปกินข้าวเหนียว หากแต่ไปกินข้าวเจ้าเหมือนงานกินเลี้ยง ทั่วไป สันนิษฐานว่า เดิมคงกินข้าวเหนียวกันจริง ๆ แต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปจน กลายเป็นข้าวเจ้า แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกว่ากินเหนียวอยู่
 
8) ประเพณีการแต่งงาน : ชาวไทยมุสลิมภาคใต้ มีประเพณีการแต่งงานแตกต่างไปจากชาวไทยพุทธ ทั้งนี้เพราะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตามศาสนาบัญญัติ จะละเมิดไม่ได้
การเลือกคู่ครองของไทยมุสลิม ต้องเป็นไปตามศาสนบัญญัติที่ว่า ต้องแต่งงานกับ คนที่เป็นมุสลิมด้วยกันเท่านั้น ในกรณีที่เป็นคนนอกศาสนา จะต้องให้เข้านับถือศาสนาอิสลาม เสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทางเดียวกัน และเมื่อมีลูกด้วยกันลูกจะได้เริ่มนับถือ ในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นการวางรากฐานศาสนาแต่เยาว์วัย อายุที่สมควรแต่งงาน ถ้าเป็นผู้หญิงต้อง ภายหลังจากที่มีประจำเดือนแล้วอายุประมาณ 13 -15 ปี แต่ในปัจจุบันเยาวชนมีการศึกษาดีขึ้น การแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยได้ลดน้อยลงไปด้วย
 

3.1 การสู่ขอ
ผู้ไปสู่ขอคือมารดาฝ่ายชาย หรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย ต้องไปขอพบกับผู้ใหญ่ ของฝ่ายหญิงพร้อมกับมีของไปฝากฝ่ายหญิง อาจจะเป็นขนมหรือผลไม้ก็ได้ เมื่อไปถึงแล้วก็บอกว่า มีธุระจะปรึกษาด้วย แล้วสอบถามว่าผู้หญิง (คนที่ต้องการสู่ขอ) มีคู่แล้วหรือยัง มีชายใดหมายปอง อยู่แล้วหรือไม่ ถ้าฝ่ายหญิงตอบว่ายังไม่มี ก็บอกว่าต้องการสู่ขอให้กับใคร ฝ่ายหญิงจะไม่ตอบ ตกลงในตอนนั้นและจะไม่ตอบรายละเอียดใด ๆ แต่จะขอเวลาปรึกษากันระหว่างญาติ ๆ ประมาณ 7 วัน ช่วงเวลานี้ฝ่ายหญิงอาจจะสืบถามรายละเอียดเกี่ยวกับฝ่ายชาย (หากไม่รู้จักกัน มาก่อนหรือยังรู้จักไม่ดีพอ) แม้จะรู้จักกันอยู่เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะขอให้รอคำตอบตามประเพณี เมื่อครบกำหนดฝ่ายหญิงจะส่งคนที่นับถือไปบอกฝ่ายชายในกรณีที่ตกลง ถ้าไม่ตกลงก็จะเงียบเฉย ให้เป็นที่รู้เอาเอง เมื่อฝ่ายหญิงตกลงแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายชายก็จะไปตกลงวิธีการแต่งงานที่บ้าน ฝ่ายหญิงอีกครั้งในวันนี้จะตกลงเรื่องวันแต่งงาน สินสอด ของหมั้น และมะฮัร

สินสอด คือ เงินที่ให้แก่บิดามารดาของหญิงที่จะแต่งงานเป็นค่าน้ำนมหรือทรัพย์สินฝ่ายชาย ให้แก่ผู้ปกครองของหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส

ของหมั้น คือ สิ่งที่มอบให้หญิงไว้ เพื่อแสดงว่าจะมาแต่งงานด้วยต่อไป

มะฮัร คือ เงินหรือสิ่งของที่มอบให้หญิงที่จะสมรสและเป็นสิทธิ์ของเธอโดยเฉพาะไม่ตกเป็น ของบิดาหรือมารดา

หลังจากตกลงเรื่องสินสอดของหมั้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะหาวันดีที่จะประกอบพิธีแต่งงาน ซึ่งเป็นไปตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น อาจให้ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายเป็นผู้ไปหา ขั้นตอน ต่อไปก็จะเตรียมงาน พิธีจะประกอบที่บ้านฝ่ายหญิงและเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิงที่จะต้องเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ให้พร้อม

3.2 การหมั้น
ตามประเพณีไทยมุสลิมอาจะเลือกทำได้ 2 ลักษณะ คือ หมั้นก่อนทำพิธีนิกะห์ (แต่งงานตามหลักศาสนา)หรือหมั้นหลังทำพิธีนิกะห์ ซึ่งจะเป็นผลดีและมีข้อห้ามต่างกันกล่าวคือ ถ้าหมั้นก่อนแต่งงาน เจ้าบ่าวจะถูกต้องเจ้าสาวไม่ได้ จะกระทำกันระหว่างผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย เท่านั้น แล้วจึงแจ้งให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวรู้ว่าตนมีคู่หมั้นแล้ว หลังจากนั้นจะทำให้การติดต่อกัน เป็นไปด้วยความสะดวก คือฝ่ายชายสามารถติดต่อกับญาติของฝ่ายหญิงได้โดยไม่ถูกครหานินทา ส่วนการหมั้นหลังพิธีนิกะห์แล้ว เจ้าบ่าวสามารถถูกต้องเจ้าสาวได้ เจ้าบ่าวจึงสวมของหมั้น ให้กับเจ้าสาวได้ และสามารถจัดพิธีนั่งบัลลังก์เพื่อให้ญาติทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมแสดงความยินดีได้อย่าง สมเกียรติ

3.3 พิธีแต่งงาน
การแห่ขันหมากและแห่เจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาวจะมีหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีขบวน ที่แห่เจ้าบ่าวจะประกอบด้วยขันหมากตามที่ตกลงกัน ซึ่งจะต้องมีจำนวนเป็นเลขคี่อย่างน้อย 5 ขัน ขันหมากสำคัญ ๆ คือ เงินหรือของ "มะฮัร" ขันหมาก ขันพลู ขันของหมั้น (หากหมั้นกับวันแต่งเป็น วันเดียวกัน) นอกนั้นก็เป็นขนมต่าง ๆ
ผู้ที่จะถือขันหมาก นิยมเลือกคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต หรือเป็นคนที่น่านับถือ รายที่ เคร่งครัดมาก ๆ จะห้ามหญิงหม้ายและสาว ๆ ถือขันหมาก เมื่อขบวนพร้อมแล้วจะเดินทางเพื่อให้ ทันฤกษ์กำหนดนิกะห์ เมื่อไปถึงบ้านเจ้าสาว จะมีคนออกมารับขันหมาก อาจเป็นสาว ๆ หรือ ผู้มีอาวุโสเป็นผู้เชิญขันหมากเข้าบ้านก็ได้ แล้วแต่ประเพณีนิยม
การนิกะห์ ต้องประกอบด้วยองค์ 5 ได้แก่
1. วลี คือ ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมีสิทธิ์ให้หญิงนั้นประกอบพิธีสมรสต้องเป็นเพศชายมีสติ สัมปชัญญะ ไม่อยู่ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์ อาจเป็นบิดา ปู่ พี่ชายหรือน้องชายของหญิงก็ได้
2. เจ้าบ่าว
3. พยาน 2 คน (ต้องเป็นมุสลิมที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และบรรลุนิติภาวะ)
4. ประธานผู้ทำพิธีนิกะห์ (อาจเป็นคนเดียวกับวลีก็ได้) หรือเป็นโต๊ะอิหม่ามในละแวกนั้น
5. มะฮัร
ในกรณีที่มีการหมั้นหลังการนิกะห์ นิยมจัดหมั้นในวันถัดไป อาจมีการจัดขบวนแห่ ขันหมากไปอีกครั้ง (จะไม่จัดก็ได้) เมื่อขบวนมาถึงบ้านเจ้าสาว ญาติฝ่ายเจ้าสาวจะออกมาต้อนรับ เจ้าบ่าวแล้วนำเจ้าสาวไปนั่งบัลลังก์ที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งช่วงนั้นเป็นเวลากลางคืน
การให้บัลลังก์ ประเพณีของจังหวัดยะลาจะให้เจ้าบ่าวนั่ง (ทางขวา) ก่อน ต่อจากนั้น เจ้าบ่าวก็จะสวมของหมั้นให้แก่เจ้าสาว (การสวมของหมั้นอาจกระทำหลังเสร็จพิธีนิกะห์เลยก็ได้) ในขณะที่เจ้าสาวและเจ้าบ่าวนั่งบัลลังก์ (บนแท่นหรือเก้าอี้ที่ประดับประดาไว้อย่างสวยงาม) จะเชิญญาติมิตรของทั้ง 2 ฝ่าย มาชมเพื่อร่วมแสดงความยินดี และจะเชิญผู้ใหญ่ที่เป็นที่นับถือ หรือญาติผู้ใหญ่มาทำพิธีกินสมางัต โดยนำเอาส้มแขก เกลือ ข้าว มาป้อนคู่บ่าวสาว (จะใช้ วิธีแตะ ๆ ก็ได้) เพื่อเป็นสิริมงคล ต่อจากนั้นจะเชิญญาติผู้ใหญ่ที่มาในงาน 3 คน มาป้อน ข้าวเหนียว 3 สี (ขาวแดง เหลือง) ไข่ และขนมให้คู่บ่าวสาว การป้อนต้องป้อนแต่ละคนจนครบ ทุกอย่างเมื่อญาติผู้ใหญ่ทั้ง 3 คน ป้อนให้จนครบแล้ บรรดาญาติและแขกเหรื่อที่ไปอาจจะมอบ เงิน หรือของขวัญ ให้คู่บ่าวสาวเป็นอันเสร็จพิธี
ศาสนาอิสลามอนุญาต ให้ชายมีการแต่งงานที่ถูกต้องตามหลักทางศาสนา ได้ถึง 4 คน แต่ทั้งนี้ฝ่ายชายจะต้องสามารถเลี้ยงดูให้มีความสุขและมีความยุติธรรมแก่ภรรยาทุกคนได้ ถ้าไม่ สามารถปฏิบัติดังกล่าวได้ ศาสนาได้กล่าวไว้ว่า ให้มีเพียงคนเดียว ข้อความดังกล่าวมีบัญญัติไว้ ในพระคัมภีร์อัลกุรอาน ทั้งนี้เพราะการร่วมหลับนอนกับหญิงอื่นที่ไม่ได้แต่งงานให้ถูกต้องตามหลัก ศาสนาอิสลาม (นิกะห์) ห้ามโดยเด็ดขาด ถือว่าเป็นการบาปอย่างร้ายแรง หากชายใดมีความต้องการ ทางเพศมาก ก็ให้แต่งงานกับหญิงอื่นอย่างถูกต้องเสียก่อน ฉะนั้นการอนุญาตให้มีถึง 4 คนได้ จึงเป็นการป้องกันไม่ให้มีการลักลอบร่วมประเวณีกับหญิงอื่น และไม่ให้เที่ยวเตร่ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การเที่ยวตามไนท์คลับ สถานอาบ อบ นวด และหญิงโสเภณี เป็นต้น

9) ประเพณีการเกิด : หลังจากคลอดบุตรแล้ว ชาวมุสลิมนิยมเชิญผู้รู้ทางศาสนา ทำการอาซานและอิกกอมะฮ. และการอะซาน คือการประกาศให้ทราบว่าเข้าสู่เวลาละหมาดแล้ว ส่วนการอิกอมะฮ.หรือกอมัต คือการกล่าวที่บอกให้ทราบว่าการละหมาดได้เริ่มขึ้นแล้ว เพื่อให้ผู้ละหมาดเตรียมตัวให้พร้อม

10) ประเพณีการปลงศพเมื่อถึงแก่กรรม : เมื่อชาวมุสลิมเสียชีวิต ผู้ยังมีชีวิตอยู่ควรปฏิบัติต่อผู้ตายหรือมัยยิต ดังนี้
- รีบสภาพการณ์หรือข่าวการตายของมุสลิม
- ไปเยี่ยมเยียนและให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยไม่จำเป็นต้องเชื้อเชิญนอกจากการบอกการประกาศให้ทราบ เพื่อการไปร่วมละหมาดญะนาซะฮ.
- ตามไปส่งมัยยิต(ศพ)ยังกุโบร์หรือสุสาน
- ควรยืนขึ้นเมื่อศพถูกยกขึ้น หรือเมื่อมีศพผ่าน
- การละหมาดญานาซะฮ.ใก้แก่มัยยิต
- การฝังศพ
ส่วนญาติพี่น้องของผู้ตายต้องปฎิบัติต่อมัยยิต(ศพ)ก่อนนำไปฝัง ดังนี้
- จัดแต่งมัยยิตให้สะอาดเรียบร้อย
- อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด อาบน้ำละหมาด และแต่งกายให้แก่มัยยิต
- การนำมัยยิตไปละหมาดญานาซะฮ.ที่มัสยิด

11) การแต่งกาย : การแต่งกายของคนมุสลิมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยสามารถรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
- มุสลิมต้องแต่งกายให้เรียบร้อยเสื้อผ้าที่ใส่ต้องปกปิดสิ่งที่พึงสงวน และเป็นอาภรณ์ปประดับกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในที่ชุมชน หรือที่ที่มีบุคคลอื่นนอกจากคนในครอบครัวการแต่งกายของชายมุสลิม จำเป็นต้องปิดตั้งแต่สะดือจนถึงหัวเข่า การเปิดขาอ่อน เช่นนุ่งกางเกงขาสั้นจึงเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่แต่เฉพาะผู้หญิงแต่รวมถึงผู้ชายด้วย ทั้งนี้ห้ามมิให้มองขาอ่อนของคนเป็นและคนตาย ขณะเดียวกันผ้านุ่ง (กางเกงและกระโปรง)ก็ต้องไม่ยาวเกินกว่าตาตุ่ม การแต่งกายของผู้หญิงมุสลิมจำเป็นต้องปกปิดทั่วร่างกายคือ ตั้งแต่ศรีษะเว้นไว้แต่ใบหน้าและฝ่ามือ ดังนั้นผู้หญิงมุสลิม จำเป็นต้องคลุมศรีษะหรือฮิญาบ โดยผ้าคลุมศรีษะนั้นตกปิดลงมาถึงหน้าอกและเสื้อผ้าที่สวมใส่จำเป็นจะต้องไม่บางและรัดรูป ไม่แต่งกายโดยโอ้อวดเครื่องประดับ ส่วนผู้หญิงที่แก่มากแล้วเป็นที่อนุโลม หากจะแต่งกายเป็นที่มิดชิดเท่าผู้หญิงวัยอื่น ๆ (เช่นจะไม่คลุมศรีษะ ไม่ปกปิดจนเหลือแต่ใบหน้าและฝ่ามือ) แต่การแต่งกายเป็นที่มิดชิดเป็นสิ่งที่ดีกว่าหากนางจะกระทำได้
- การแต่งกายนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความสะอาด กล่าวคือทั้งร่างกายและเสื้อผ้าจะต้องสะอาด ภาพลักษ์ที่ปรากฎจาการแต่งกายต้องอยู่ในสภาพของผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี เช่นทั้งร่างกายปละเสื้อผ้าต้องสะอาดเกลี้ยงเกลา ปราศจากกลิ่นและสีแห่งความสกปรก หากเป็นชชายก็ไม่ปล่อยให้ผมยุ่งรุงรัง
- การแต่งกายนั้นต้องแสดงออกซึ่งความเป็นมุสลิม กล่าวคือ ต้องให้แตกต่างจากศาสนิกอื่น เช่นให้สะอาดเรียบร้อยมิดชิด อาทิ ผู้หญิงต้องคลุมฮิญาบ ผู้ชายควรไว้หนวดไว้เคราและหากปฎิบัติตามแบบฉบับท่านศาสดา(ซ.ล.) ได้หมดคือการสวมหมวกและโพกผ้า
- การแต่งกายนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการไม่ฟุ่มเฟือย ไม่แสดงถึงความโอ้อวดแต่ขณะเดียวกันก็ไม่ตะหนี่ถี่เหนียว จนทำให้ขาดความเหมาะสมจนเสียบุคลิกภาพ
- ชายต้องไม่นำทองคำมาเป็นอาภรณ์ประดับ เพราะทองเป็นของมีค่าเหมาะสำหรับเพศหญิงเท่านั้น เช่นเดียวกับผ้าไหม
- ชายต้องไม่แต่งเสียผ้าที่ทำจากไหม เว้นแต่เฉพาะเพื่อรักษาโรค
- มุสลิมทั้งชายหญิงต้องไม่แต่งตัวผิดเพศ กล่าวคือ ชายต้องไม่แต่งกายแบบหญิง และหญิงต้องไม่แต่งกายแบบชาย

12) ศีละ : เป็นศิลปะป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ มีจังหวะลีลา ตามเสียงดนตรีพื้นเมือง (ปี่ กลอง)มีจังหวะเร้าใจ

13) รองเง็ง : เป็นศิลปะการร่ายรำเน้นหนักทางนันทนาการ มีลีลาอ่อนช้อยตามจังหวะดนตรี(ส่วนใหญ่นิยมรำคู่ ชาย - หญิง)



14) ดีเกฮูลุ : เป็นการแสดงแบบรับร้องโต้ตอบ หรือร้องเดี่ยวโดยใช้ปฎิภาณไหวพริบเช่นเดียวกับลำตัดดีเกฮูลูคณะหนึ่งจะมีลูกคู่ประมาณ 10 คน ผู้ร้องเพลงประจำคณะจะมี 2-3 คน ในขณะลูกคู่จะนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้าจังหวะดนตรี ประกอบการแสดงได้แก่ กลองรำมะนา ฆ้อง โหม่ง และลูกแซ็ก ดีเกฮูลูในอำเภอยี่งอจะมีหลายคณะ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://www.kbyala.ac.th/job-m3/j21.ppt#267,12,ภาพนิ่ง 12
http://202.143.134.120/amnuaykarn/lp1/item/naradata.doc
http://www.khlong-u-taphao.com/
http://www.geocities.com/provyala/
http://www.sns.ac.th/www512/406/19.html
http://www.pocnara.go.th/narathiwat/provnara/nara/nara8.html
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=425835
http://www.openbase.in.th/node/7357

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546

1. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)

2. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)

     1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

     2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

     3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

     4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

     5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

     6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

     7) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

     8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

     9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจำเป็นและสมควร

3. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)  

      1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

      2) ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

      3) ให้มีการบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

      4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ

      5) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

      6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

      7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

      8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

      9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

      10 ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม

      11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

      12) การท่องเที่ยว

      13) การผังเมือง

4. การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้าตามสมควร หากอบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)

5. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา อบต. การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด (มาตรา 69/1)

6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ(มาตรา 70)

7. ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต. ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝาฝืนด้วยก็ได้ แต่มีให้กำหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71)

8. อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)

9.อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73)

 

 

อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

 1. มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (มาตรา 16)

      (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

      (2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

      (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

      (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ

      (5) การสาธารณูปการ

      (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ

      (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

      (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว

      (9) การจัดการศึกษา

      (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

      (11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

      (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

      (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

      (14) การส่งเสริมกีฬา

      (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

      (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

      (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

      (18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

      (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

      (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

      (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

      (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

      (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ

      (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

      (25) การผังเมือง

      (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

      (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ

      (28) การควบคุมอาคาร

      (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

      (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน

      (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

2. อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดำเนินการตาม "แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ดง