น้ำตกบาเละ
1) วันว่างหรือวันขึ้นปีใหม่(วันสงกรานต์) : วันว่างหรือวันขึ้นปีใหม่นี้มีทุกภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง อีสาน และภาคใต้ ทุกภาคปฎิบัติอย่างเคร่งครัด ยึดมั่นประเพณีเดิมคือประเพณีสงกรานต์
วันว่างหรือวันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ไทยรับมาจากพราหมณ์อีกต่อหนึ่งแต่เนื่องจากว่า ไทยนับถือพุทธศาสนาจึงนำมาปรับปรุงในทางดีงาม เช่นการนับถือบรรพบุรุษจึงเอากระดูกของบรรพบุรุษไปทำบุญทำทานในวัด วันอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายและเปรตชน วันว่างเป็นหลักการของสังคมและการปกครอง
4) วันรายาฮัจญี(อีดิ้ลอัฏฮา) : วันประกอบพิธีฮัจญี ณ นคร มักกะฮ์ ประชาชนทั่วไปนิยมทำพิธีละหมาดสุนัต หลังจากพิธีละหมาดจะมีการทำกุรบั่น 3 วัน กล่าวคือ การคือ การเชือดสัตว์เพื่อบริจาคแจกจ่ายแก่ผู้ยากจน สัตว์ที่เชือดได้แก่ แพะ แกะ อูฐ และวัว ซึ่งเรียกว่า “อุฎฮิยฮ.” แต่คนทั่วไปมักเรียกสัตว์ที่เชือดเป็นพลีนี้ว่า “กุรบั่น” ซึ่งคำนี้มีความหมายว่า ทำให้เข้าใกล้ชิด
5) การเข้าสุหนัต :
เรียกในภาษาอาหรับว่า “คอตั่น” และเรียกในภาษยาวีว่า “มาโซ๊ะยาวี” การเข้าสุนัตคือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย โดยชายมุสลิมทุกคนจะต้องปฎิบัติ ดังนั้นผู้ปกครองจึงมักทำการสุหนัตให้แก่ลูกหลานตั้งแต่เด็ก ๆ สำหรับชายที่เข้ามารับศานาอิสลามก็ต้องปฎิบัติเช่นกัน
3.1 การสู่ขอ ของหมั้น คือ สิ่งที่มอบให้หญิงไว้ เพื่อแสดงว่าจะมาแต่งงานด้วยต่อไป มะฮัร คือ เงินหรือสิ่งของที่มอบให้หญิงที่จะสมรสและเป็นสิทธิ์ของเธอโดยเฉพาะไม่ตกเป็น ของบิดาหรือมารดา หลังจากตกลงเรื่องสินสอดของหมั้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะหาวันดีที่จะประกอบพิธีแต่งงาน ซึ่งเป็นไปตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น อาจให้ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายเป็นผู้ไปหา ขั้นตอน ต่อไปก็จะเตรียมงาน พิธีจะประกอบที่บ้านฝ่ายหญิงและเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิงที่จะต้องเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ให้พร้อม 3.2 การหมั้น 3.3 พิธีแต่งงาน 9) ประเพณีการเกิด : หลังจากคลอดบุตรแล้ว ชาวมุสลิมนิยมเชิญผู้รู้ทางศาสนา ทำการอาซานและอิกกอมะฮ. และการอะซาน คือการประกาศให้ทราบว่าเข้าสู่เวลาละหมาดแล้ว ส่วนการอิกอมะฮ.หรือกอมัต คือการกล่าวที่บอกให้ทราบว่าการละหมาดได้เริ่มขึ้นแล้ว เพื่อให้ผู้ละหมาดเตรียมตัวให้พร้อม 10) ประเพณีการปลงศพเมื่อถึงแก่กรรม : เมื่อชาวมุสลิมเสียชีวิต ผู้ยังมีชีวิตอยู่ควรปฏิบัติต่อผู้ตายหรือมัยยิต ดังนี้ 11) การแต่งกาย : การแต่งกายของคนมุสลิมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยสามารถรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ 12) ศีละ : เป็นศิลปะป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ มีจังหวะลีลา ตามเสียงดนตรีพื้นเมือง (ปี่ กลอง)มีจังหวะเร้าใจ 13) รองเง็ง : เป็นศิลปะการร่ายรำเน้นหนักทางนันทนาการ มีลีลาอ่อนช้อยตามจังหวะดนตรี(ส่วนใหญ่นิยมรำคู่ ชาย - หญิง) 14) ดีเกฮูลุ : เป็นการแสดงแบบรับร้องโต้ตอบ หรือร้องเดี่ยวโดยใช้ปฎิภาณไหวพริบเช่นเดียวกับลำตัดดีเกฮูลูคณะหนึ่งจะมีลูกคู่ประมาณ 10 คน ผู้ร้องเพลงประจำคณะจะมี 2-3 คน ในขณะลูกคู่จะนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้าจังหวะดนตรี ประกอบการแสดงได้แก่ กลองรำมะนา ฆ้อง โหม่ง และลูกแซ็ก ดีเกฮูลูในอำเภอยี่งอจะมีหลายคณะ |
|||||||||
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล http://www.kbyala.ac.th/job-m3/j21.ppt#267,12,ภาพนิ่ง 12 http://202.143.134.120/amnuaykarn/lp1/item/naradata.doc http://www.khlong-u-taphao.com/ http://www.geocities.com/provyala/ http://www.sns.ac.th/www512/406/19.html http://www.pocnara.go.th/narathiwat/provnara/nara/nara8.html http://www.oknation.net/blog/print.php?id=425835 http://www.openbase.in.th/node/7357 |
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546
1. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
7) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจำเป็นและสมควร
3. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)
1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
2) ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
3) ให้มีการบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
5) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
10 ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
12) การท่องเที่ยว
13) การผังเมือง
4. การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้าตามสมควร หากอบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)
5. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา อบต. การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด (มาตรา 69/1)
6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ(มาตรา 70)
7. ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต. ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝาฝืนด้วยก็ได้ แต่มีให้กำหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71)
8. อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)
9.อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73)
อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
1. มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (มาตรา 16)
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
(5) การสาธารณูปการ
(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9) การจัดการศึกษา
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14) การส่งเสริมกีฬา
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
(25) การผังเมือง
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28) การควบคุมอาคาร
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
2. อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดำเนินการตาม "แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "
วิสัยทัศน์ (Vission) |
“ชุมชนดี ชีวีเป็นสุข เศรษฐกิจเข้มแข็ง ราษฎร์-รัฐ พัฒนา” |